ศูนย์บริการทางหลวง

1. ความเป็นมา 
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบกรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำเป็นคู่มือเพื่อปฏิบัติงานต่อไป ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ รับผิดชอบมาตรการสร้างคุณภาพการเจิรญเติบโต ทางเศรษฐกิจ “โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” โดยปรับปรุงที่พักริมทาง (Rest Area) และจัดให้มีร้านสินค้า พื้นเมืองที่มี ีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการเปิดร้านสินค้าพื้นเมือง (OutLet) ของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาดำเนินงาน 3 – 6 เดือน ฯลฯ

2. การก่อสร้าง 
กรมทางหลวงดำเนินการจัดสร้างศูนย์บริการทางหลวงไว้ทุกภาคให้แล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ภายในเดือนเมษายน 2545 ดังนี้ .-     

2.1 ภาคเหนือ ศูนย์บริการทางหลวงขุนตาน ตั้งอยู่ที่ขุนตาน ตำบลเวียงอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง บนทางหลวงหมายเลข   11 ตอนลำปาง –เชียงใหม่ ระหว่าง กม.33+420 –กม.33+577 ด้านซ้ายทาง บริเวณที่พักริมทางเดิมของ กรมทางหลวง(ห้วยแม่สัน) เป็นที่สงวนนอกเขตทางของกรมทางหลวง เนื้อที่ 6 ไร่ 32 ตารางวา ค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการ (1,600 ตารางเมตร) และสาธารณูปโภค เป็นเงิน 37.9 ล้านบาท         

 2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์บริการทางหลวงลำตะคอง ตั้งอยู่ที่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บนทางหลวงหมายเลข 2 ตอนสระบุรี – นครราชสีมา ระหว่าง กม.193+292 – กม.193+975 ด้านซ้ายทาง เนื้อที่ประมาณ 37 ไร่ (เป็นที่ราชพัสดุ 25 ไร่ ส่วนที่เหลือ อีก 12 ไร่ เป็นที่ดินสงวนนอกเขตทาง)ปัจจุบันกรมทางหลวงได้จัดทำเป็นที่พักริมทาง (Rest Area) ซึ่งมีสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการ (1,100 ตารางเมตร) เป็นเงิน 27.9 ล้านบาท     

2.3 ภาคกลาง ศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท ตั้งอยู่ที่ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมณ์ จังหวัดชัยนาท บนทางหลวงหมายเลข 32 ตอนสี่แยกชัยนาท – สี่แยกหางน้ำสาคร ระหว่าง กม.185+504 + กม.185+604 ด้านขวาทางเป็นที่สงวน นอกเขตทางของกรมทางหลวง เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการ (1,600 ตารางเมตร) และสาธารณูปโภค เป็นเงิน 37 ล้านบาท          

2.4 ภาคใต้ ศูนย์บริการทางหลวงเขาโพธิ์ ตั้งอยู่ที่เขาโพธิ์ ตำบลไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บนทางหลวงหมายเลข 4 ตอนประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร ระหว่าง กม.431+400 – กม.432+200 บริเวณเกาะกลางขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 163 ไร่ ค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการ (1,600 ตารางเมตร) และสาธารณูปโภค เป็นเงิน 51.7 ล้านบาท 

3. ประโยชน์ที่ประชาชนผู้ใช้ทางจะได้รับ  
กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อวางหลักเกณฑ์และข้อกำหนดการจัดตั้ง ศูนย์บริการทางหลวงไว้เป็นมาตรฐาน โดยกำหนดองค์ประกอบสำหรับประชาชนผู้ใช้ทางไว้ ดังนี้    

3.1 ส่วนพื้นที่บริการอำนวยความสะดวกและร้านค้า ประกอบด้วย 
- ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารทางหลวง 
- ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวในท้องถิ่น 
- ศูนย์บริการรถลากจูง ซ่อมรถฉุกเฉินและกู้ภัย 
- ศูนย์ตรวจสอบสภาพและเป็นจุดพักเปลี่ยนคนขับรถโดยสารของเจ้าหน้าที่จาก 
- กรมการขนส่งทางบก (ตามความเหมาะสม) 
- ส่วนบริการของตำรวจทางหลวงและตำรวจท่องเที่ยว 
- ศูนย์บริการสื่อสารติดต่อ (โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต) 
- ส่วนบริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม 
- ร้านค้าทั่วไปและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (ตามความเหมาะสม) 
- ส่วนปฐมพยาบาล 
- ส่วนประกอบศาสนกิจ 
- ห้องสุขา 
- ส่วนบริหารจัดการ 
- อื่นๆ (ตามความเหมาะสม)    

3.2 ส่วนพื้นที่บริการด้านยานพาหนะ ประกอบด้วย 
- ที่จอดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 
- ที่จอดรถบรรทุกขนาดใหญ่ 
- ที่จอดรถโดยสารขนาดใหญ่  
- อื่นๆ (ตามความเหมาะสม)   

3.3 พื้นที่ส่วนที่เป็นสวนหย่อม ประกอบด้วย 
- พื้นที่ปลูกต้นไม้ และจัดสวน 
- ศาลาพักผ่อน 
- พื้นที่พักผ่อน 
- อื่นๆ (ตามความเหมาะสม)   

3.4 ระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย 
- น้ำประปา หรือน้ำบาดาล 
- ไฟฟ้า 
- โทรศัพท์ 
- อื่นๆ (ตามความเหมาะสม)   

3.5 รูปแบบทางเข้าและทางออก 
- ต้องกำหนดรูปแบบทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับความเร็วในการเข้าและออก เพื่อความปลอดภัย 
ตามประเภทของทางหลวง    3.6 องค์ประกอบด้านวิศวกรรมอื่นๆ 
- เช่น ป้ายจราจร ป้ายแนะนำ สีตีเส้น ไฟฟ้าแสงสว่าง บริเวณทางเข้าออกและภายในบริเวณรวมทั้งระบบระบายน้ำที่เหมาะสม